MSC ขยายเครือข่ายการบริการในเส้นทาง Intra-Asia จากประเทศไทย ด้วยสองบริการเชื่อมต่อตรงใหม่ ในชื่อ SEAGULL และ PERTIWI มอบประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นที่เหนือกว่า ภายในเวลาขนส่งที่รวดเร็ว

ฐานข้อมูล COMTRADE โดยสหประชาชาติเผยว่า ในปี 2021 มูลค่าการส่งออกจากประเทศไทยไปยังปลายทางในทวีปเอเชียคิดเป็น 62 เปอร์เช็นต์ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด หรือกว่า 163 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในจำนวนนี้ ประเทศจีนถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ด้วยมูลค่าการส่งออกจากไทยที่มากถึง 36.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เพื่อเป็นการตอบรับโอกาสการเติบโตของตลาดในภูมิภาคเอเชีย MSC Mediterranean Shipping Company (MSC) สายการเดินเรือชั้นนำระดับโลก จึงเดินหน้านำเสนอบริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้า ในเส้นทาง Intra-Asia ผ่านการเปิดตัวบริการขนส่งตู้สินค้ารายสัปดาห์ใหม่ ในชื่อ SEAGULL เชื่อมต่อประเทศไทยตรงสู่ท่าเรือเกตเวย์หลักในจีน สิงคโปร์ และมาเลเซีย ควบคู่ไปกับการนำเสนอจุดแข็งของบริการ PERTIWI เพื่อเพิ่มตัวเลือกและความยืดหยุ่นให้แก่ลูกค้าที่ต้องการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของไทย อย่าง อินโดนีเชีย

MSC Kanoko (built 2019) 14,336 TEU

ตั้งแต่ริเริ่มดำเนินการในประเทศไทยในปี 1997 สายการเดินเรือ MSC ได้เติบโตและขยายเครือข่ายธุรกิจอย่างมั่นคง พร้อมได้รับความไว้ใจจากกลุ่มลูกค้ามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภายหลังประสบความสำเร็จมาเป็นเวลานานมากกว่าสองทศวรรษ ปัจจุบัน MSC มีสำนักงานสามแห่งในเขตพื้นที่เชิงกลยุกธ์อย่างกรุงเทพมหานคร แหลมฉบัง และสงขลา ปฏิบัติการภายใต้มุ่งมั่นในการสนับสนุนผู้ประกอบการในไทยอย่างแน่วแน่ อย่างที่เห็นได้จากการเปิดตัวสองบริการใหม่ ซึ่งจะเข้ามาช่วยสนับสนุนการค้าปลายทางในภูมิภาคที่มีสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศ

นิตยสาร LM ฉบับนี้ ได้มีโอกาสพูดคุยกับ Mr. Gaspard Vandamme กรรมการผู้จัดการ, คุณรุ่งฤดี คุรุธัช รองกรรมการผู้จัดการ และคุณวิโรจน์ เรขเจริญพันธุ์ ผู้จัดการฝ่ายพาณิชย์ส่งออก บริษัท MSC Mediterranean Shipping (Thailand) เกี่ยวกับเบื้องหลังแผนการพัฒนาเครือข่ายการบริการในเส้นทาง Intra-Asia ของสายการเดินเรือฯ

Mr. Gaspard Vandamme กรรมการผู้จัดการ บริษัท Mediterranean Shipping (Thailand) Co., Ltd.

Asia: A Booming Trade Region

ทวีปเอเชียถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการค้าของไทย ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าที่กำลังได้รับความเป็นที่ต้องการสูงในปัจจุบัน อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก พืชเศรษฐกิจ และปศุสัตว์ โดยมีมูลค่าการส่งออกสู่ประเทศคู่ค้าสำคัญ อย่างจีน เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่มีแน้วโน้วขยายตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Mr. Vandamme กล่าวว่า “ภายใต้ความมุ่งมั่นในการสนับสนุนผู้ประกอบการในไทย MSC เล็งเห็นถึงความสำคัญของเครือข่ายการขนส่งในเส้นทาง Intra-Asia ที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ เราจึงตัดสินใจลงทุนขยายการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว โดยเริ่มต้นจากบริการ SEAGULL และบริการ PERTIWI เป็นก้าวแรก”  

คุณรุ่งฤดี คุรุธัช รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท Mediterranean Shipping (Thailand) Co., Ltd.

“ในอดีต MSC เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าประเทศไทยในฐานะผู้บริการขนส่งที่มีความโดดเด่นด้านการขนส่งสินค้าในเส้นทางระยะไกล (Long Haul) ไปยังปลายทางทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตลาดเอเชียเป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สายการเดินเรือฯ จึงต้องการเข้ามามีบทบาท เพื่อสนับสนุนกลุ่มลูกค้าผู้ส่งออกของเรา ผ่านข้อเสนอบริการที่สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการได้อย่างแท้จริง” คุณรุ่งฤดี กล่าวเสริม

To China in 10 Days with SEAGULL

ก่อนหน้านี้ บริการขนส่งสินค้าจากไทยไปยังปลายทางในจีนของ MSC จะให้บริการด้วยเรือลำเลียงสินค้า เพื่อขนถ่ายสินค้าไปยังเรือแม่ (Transshipment) ที่ท่าเรือหลักในประเทศสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการให้บริการรูปแบบนี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงเครือข่ายขนส่งที่ครอบคลุมกว่า แต่บางครั้งก็อาจทำให้การขนส่งสินค้าของลูกค้าใช้เวลาในการขนส่งมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการล่าช้า และสถานการณ์ความผันผวนในท่าเรือมากกว่าการขนส่งด้วยบริการเส้นทางตรง

คุณวิโรจน์ เรขเจริญพันธุ์ ผู้จัดการฝ่ายพาณิชย์ส่งออก บริษัท MSC Mediterranean Shipping (Thailand)

“เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านการขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้เปิดบริการ SEAGULL ซึ่งนำเสนอการเชื่อมต่อตรงจากท่าเรือ Laem Chabang ไปยังท่าเรือเกตเวย์หลักของจีน อย่าง Shanghai, Ningbo และ Xiamen ด้วยระยะเวลาการขนส่งที่รวดเร็ว ภายใน 10, 12 และ 14 วันตามลำดับ โดยการปฏิบัติการบริการในเส้นทางดังกล่าวเที่ยวแรกได้เดินทางออกจากท่าเรือ Laem Chabang เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา” คุณ Viroj กล่าว

นอกจากนี้ บริการ SEAGULL ยังมอบการเชื่อมต่อตรงจาก Laem Chabang ไปยัง Singapore, Tanjung Pelepas, Penang และ Pasir Gudang ด้วยระยะเวลาขนส่ง 3, 4, 6 และ 9 วันตามลำดับ

“อย่างไรก็ตาม บริการ SEAGULL ไม่เพียงแต่จะเข้ามายกระดับความคล่องตัวในการให้บริการลูกค้าที่มีปลายทางการขนส่งในจีนเท่านั้น แต่ยังจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับลูกค้าที่ต้องการขนส่งสินค้าเส้นทางไกล ที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากบริการนี้เพื่อเชื่อมต่อไปยังปลายทางทั่วโลก ผ่านท่าเรือศูนย์กลาง อย่าง Singapore, Tanjung Pelepas, Ningbo และ Shanghai”

ทั้งนี้ บริการ SEAGULL เป็นบริการขนส่งตู้สินค้ารายสัปดาห์ที่มีรูปแบบการเดินเรือแบบปีกผีเสื้อ (Butterfly Service) โดยมีรอบการวนเรือเริ่มต้นจากท่าเรือ Shanghai ไปยัง Ningbo, Xiamen, DaChan Bay, Vung Tau, Laem Chabang, Singapore, Tanjung Pelepas, Penang, Pasir Gudang, Singapore, Tanjung Pelepas, Laem Chabang, Vung Tau ก่อนวนกับไปยัง Shanghai อีกครั้ง

Direct Connection to Indonesia with Pertiwi

ด้วยฐานปริมาณประชากรในประเทศที่มากเป็นอันดับสี่ของโลก หรือกว่า 276 ล้านคน อินโดนีเซียถือเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและมีพลวัตมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

คุณรุ่งฤดีเผยว่า “ประเทศอินโดนีเซียได้รับความสนใจจากผู้ส่งออกในไทยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากก่อนหน้านี้ MSC ไม่มีบริการขนส่งตรงจากไทยไปยังอินโดนีเซีย การขนส่งสินค้าในเส้นทางดังกล่าวจึงจำเป็นต้องให้บริการผ่านการขนถ่ายลำสินค้าที่ท่าเรือ Singapore ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังท่าเรือปลายทางในอินโดนีเซียต่อไป” 

“เพื่อยกระดับความคล่องตัวในการขนส่งและตอบสนองความต้องการของลูกค้า MSC ได้นำเสนอบริการ PERTIWI ซึ่งเป็นบริการแรกของสายการเดินเรือฯ ที่มอบความสามารถในการเชื่อมต่อเส้นทางตรงจากไทยไปยังอินโดนีเซีย โดยได้เริ่มต้นให้บริการในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา”

สำหรับบริการ Pertiwi เป็นบริการขนส่งสินค้าเส้นทางตรง เชื่อมระหว่างประเทศจีนตอนเหนือ เกาหลีใต้ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีรอบการวนเรือเริ่มต้นจาก Busan ไปยัง Qingdao, Incheon, Dalian, Tianjin Xingang, Vung Tau, Laem Chabang, Singapore, Tanjung Pelepas, Panjang, Jakarta, Panjang, Singapore และ Tanjung Pelepas ก่อนจะวนกลับไปยัง Busan อีกครั้ง

New Services Well-received by Customers

สำหรับการตอบรับจากลูกค้าในตลาด Mr. Vandamme เผยว่า “บริการขนส่งสินค้าในเส้นทาง Intra-Asia ได้รับการตอบรับและการสนับสนุนเป็นอย่างดีอย่างจากลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภคและสินค้าประเภทวัตถุดิบ”

“อย่างไรก็ตาม ตลาด Intra-Asia ยังคงเป็นพื้นที่ทางธุรกิจที่ใหม่มากสำหรับสายการเดินเรือฯ เราจึงมุ่งมั่นพัฒนาและขยายบริการในตลาดนี้ให้มีความครอบคลุมยิ่งขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยทรัพยากรด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เพียบพร้อมในฐานะผู้ให้บริการขนส่งตู้สินค้าทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก MSC มั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตเราจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของภูมิภาคเศรษฐกิจนี้”

ท้ายที่สุดนี้ สายการเดินเรือ MSC เล็งเห็นว่าปัจจุบัน ถึงเวลาแล้วที่สายการเดินเรือฯ จะเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนเศรษฐกิจและการค้าของเอเชียที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ภายใต้ความมุ่งมั่นในการขยายเครือข่ายบริการอย่างต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งของฐานการปฏิบัติการในภูมิภาคที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพนี้ ด้วยบริการขนส่งเส้นทางตรงที่มอบข้อได้เปรียบทั้งด้านเวลา ประสิทธิภาพ และความหยืดหยุ่นอย่างแท้จริง

ตรวจสอบตารางหรือจองพื้นที่ระวางสินค้าของสายการเดินเรือฯ ได้วันนี้ ที่ www.mymsc.com นอกจากนี้ ทีมงานผู้เชี่ยวชาญประจำท้องถิ่นของถิ่นของ MSC ยังพร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโซลูชันโลจิสติสก์ที่เฉพาะต่อธุรกิจของคุณ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรงได้ที่ tha-info@msc.com


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้APM Terminals Valencia วางศิลาฤกษ์สำหรับโรงซ่อมบำรุงแห่งใหม่
บทความถัดไปWHALE LOGISTICS จับมือ CCP จัดตั้งบริษัท Charlie Top Logistics Solution เปิดธุรกิจคลังสินค้า Free Zone