Maersk ปฏิบัติการถ่ายลำสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในจีนเป็นครั้งแรก

0
1174

A.P. Moller – Maersk ประสบความสำเร็จในการถ่ายลำตู้สินค้านำเข้าทั้งหมด 27 ตู้ ซึ่งขนส่งโดยเรือขนส่งตู้สินค้า ‘Merete Maersk’ จากต้นทางใน Vancouver ประเทศแคนาดา โดยนำเข้ามาถ่ายลำที่ท่าเทียบเรือ Yangshan ใน Shanghai ก่อนที่จะขนส่งต่อไปยังท่าเรือปลายทางใน Tianjin ซึ่งนับเป็นปฏิบัติการถ่ายลำสินค้าที่ดำเนินการโดยผู้ให้บริการขนส่งสินค้าต่างชาติบนชายฝั่งของจีนเป็นครั้งแรก และถือเป็นก้าวสำคัญของการที่จีนอนุญาตให้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าจากต่างชาติดำเนินการขนถ่ายสินค้าทางทะเลภายในประเทศจีน 

Mr. Soren Skou ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร A.P. Moller – Maersk กล่าวว่า “เรารู้สึกภูมิใจที่เป็นบริษัทต่างชาติรายแรกที่ดำเนินการถ่ายลำสินค้านำเข้าจากต่างประเทศภายในจีนได้สำเร็จ การถ่ายลำสินค้าจาก Shanghai ช่วยให้เราสามารถยกระดับการบริการด้วยเครือข่ายการขนส่งที่มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ พร้อมกับรับมือปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังปัญหาคอขวดในกระบวนการซัพพลายเชนของจีน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถร่นระยะเวลาการขนส่ง ลดการปล่อยมลพิษ และปลดล็อคพื้นที่ระวางเพิ่มขึ้นสำหรับลูกค้า เราขอขอบคุณที่ทางการจีนได้ริเริ่มการให้ผู้ให้บริการขนส่งต่างชาติถ่ายลำสินค้าได้ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพของระเบียบว่าด้วยการถ่ายลำสินค้า และเราหวังว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับพื้นที่อื่นๆ ที่ยังคงมีข้อจำกัดด้านการถ่ายลำสินค้าจากต่างประเทศต่อไป”

การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบครั้งสำคัญใน Yangshan มีขึ้นหลังจากที่คณะมุขมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนมีแผนการในปี 2019 ที่จะกระตุ้นการพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศใน Shanghai จากนั้น ในเดือนพฤศจิกายน 2021 กระทรวงคมนาคมของจีนได้ประกาศอนุญาตให้สินค้าจากต่างประเทศถ่ายลำในจีนได้ โดยถือเป็นช่วงทดลองจนถึงปลายปี 2024 ซึ่งผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์จะสามารถใช้เรือของตนเองในปฏิบัติการถ่ายลำสินค้านำเข้าจากต่างประเทศระหว่างท่าเรือ Shanghai Yangshan และท่าเรือทางตอนเหนือของจีน ได้แก่ Dalian, Tianjin และ Qingdao ได้


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้UWL เปิดตัวบริการใหม่ เชื่อม Phnom Penh สู่ Seattle
บทความถัดไปPIL เพิ่มท่าเรือ Shanghai และ Singapore สู่บริการ Gulf China Service (GCS)