GEODIS ร่วมมือกับ Phantom Auto พัฒนาฟอร์คลิฟต์ควบคุมจากระยะไกลคันแรก

0
910
GEODIS to Produce First Remotely Operated Forklift

GEODIS ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ชั้นนำ ร่วมมือกับ Phantom Auto ผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์การปฏิบัติการระยะไกลสำหรับยานพาหนะไร้คนขับ ในการพัฒนารถฟอร์คลิฟต์ที่สามารถควบคุมได้จากระยะไกล โครงการอันล้ำสมัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัย รวมทั้งยังสร้างโอกาสให้กับผู้ทุพพลภาพและผู้ที่มักไม่ได้รับโอกาสในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

โครงการทดสอบครั้งแรก ที่ Levallois และ Le Mans ในประเทศฝรั่งเศส ประสบความสำเร็จด้วยดี โดยเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระยะเวลาหลายปีระหว่าง GEODIS, Phantom Auto และ Fenwick-Linde ผู้ผลิตรถฟอร์คลิฟต์สัญชาติฝรั่งเศสในเครือ Linde Material Handling ในการสร้างรถฟอร์คลิฟต์ปฏิบัติการระยะไกลคันแรก ซึ่งสามารถควบคุมได้จากระยะห่างออกไปหลายพันกิโลเมตร ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติรูปแบบการทำงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ขยายโอกาสให้ผู้ที่มักถูกมองข้ามในอุตสาหกรรม เช่น ผู้หญิง ผู้ทุพพลภาพ ผู้ที่ถูกแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์ ฯลฯ

การร่วมมือกันครั้งนี้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้จัดการ GEODIS และได้รับการพัฒนาตามขอบข่ายงานของโครงการนวัตกรรมภายใน GEODIS โซลูชันนี้ใช้รถฟอร์คลิฟต์ Fenwick ร่วมกับซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานระยะไกลที่ปลอดภัย ไม่ยึดติดและสามารถทำงานข้ามเครือข่ายได้ของ Phantom เพื่อช่วยให้บุคลากรสามารถควบคุมรถได้จากระยะไกล ปลดล็อคและยกระดับประสิทธิภาพการใช้งานอุปกรณ์ ยกตัวอย่างเช่น บุคลากรทำงานระยะไกลคนหนึ่งสามารถควบคุมรถฟอร์คลิฟต์หลายคัน ในคลังสินค้าหลายแห่ง ภายในช่วงเวลาที่แตกต่างกันได้ โดยผ่านศูนย์กลางเพียงแห่งเดียว

ผู้ปฏิบัติการควบคุมระยะไกลของ GEODIS หรือสามารถเรียกได้ว่า ‘คนขับรถดิจิทัล’ ยังสามารถสลับการควบคุมระหว่างรถแต่ละคันและระหว่างคลังสินค้าแต่ละแห่งได้เพียงปลายนิ้วคลิก โดยสามารถควบคุมทุกอย่างผ่านสำนักงานระยะไกลได้อย่างปลอดภัย ซอฟต์แวร์ของ Phantom ช่วยให้ผู้ปฏิบัติการระยะไกลของ GEODIS สามารถมองเห็นและได้ยินเสียงสภาพแวดล้อมรอบๆ อุปกรณ์แต่ละตัว ช่วยให้พวกเขาสามารถปฏิบัติการรถฟอร์คลิฟต์ได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจได้จากทุกที่

ประโยชน์ของโครงการควบคุมรถฟอร์คลิฟต์ระยะไกลของ GEODIS ประกอบด้วย

  1. ลดการบาดเจ็บและเพิ่มความปลอดภัยโดยรวมภายในคลังสินค้า
  2. ลดจำนวนบุคลากรที่ต้องอยู่ในคลังสินค้าเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้บุคลากร
  3. สร้างตำแหน่งงานด้านการปฏิบัติการระยะไกลในอนาคต ซึ่งสามารถปฏิบัติงานจากภายในสำนักงาน
  4. สร้างโอกาสให้ผู้ทุพพลภาพซึ่งไม่สามารถขับรถฟอร์คลิฟต์ทั่วไปได้ รวมทั้งบุคคลกลุ่มอื่นๆ ที่มักถูกมองข้ามในอุตสาหกรรม
  5. สร้างโอกาสในการจัดจ้างบุคลากรจากนอกภูมิภาคที่ตั้งคลังสินค้า รวมทั้งจากพื้นที่ที่มีอัตราว่างงานสูง

อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้APM Terminals เดินหน้าพัฒนาท่าเทียบเรือ MedPort Tangier เฟสสอง
บทความถัดไปSEKO Logistics เดินหน้าขยายธุรกิจในจีน