APM Terminals ยกระดับระบบดิจิทัลสำหรับกระบวนการส่งออกในท่าเทียบเรือรัสเซีย

0
1089

จากความสำเร็จในการปรับใช้ระบบดำเนินการส่งออกตู้สินค้าแบบไร้เอกสารอย่างเต็มรูปแบบของท่าเทียบเรือ First Container Terminal (FCT) ในประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นกิจการในเครือกลุ่มบริษัท Global Ports ในปี 2020 ทางกลุ่มบริษัทฯ​ ได้ขยายการดำเนินการแบบไร้เอกสารครอบคลุมท่าเทียบเรือในเครือฯ อีกสองแห่งได้แก่ ท่าเทียบเรือ Petrolesport (PLP) และท่าเทียบเรือ Ust-Luga Container Terminal (ULCT) ส่งผลให้ปัจจุบัน ผู้ใช้บริการท่าเทียบเรือทุกแห่งในรัสเซียตะวันตกเฉียงเหนือของกลุ่มบริษัทฯ สามารถบริหารจัดการชิปเมนท์การส่งออกได้ผ่านทางแพลตฟอร์มดิจิทัล ‘Global Ports Unified Customer Portal’

โดยกลุ่มบริษัท Global Ports เป็นกิจการร่วมทุนที่ผสานความเชี่ยวชาญระดับโลกของ APM Terminals (ถือหุ้นอยู่ที่ 30.75 เปอร์เซ็นต์) และความชำนาญในท้องถิ่นของบริษัท Delo (ถือหุ้นอยู่ที่ 30.75 เปอร์เซ็นต์) ซึ่ง Delo เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ถือหุ้นด้านการขนส่งและโลจิสติกส์เอกชนที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซีย ทั้งนี้ Global Ports ถือเป็นผู้นำด้านการปฏิบัติการท่าเทียบเรือตู้สินค้าในตลาดรัสเซีย โดยประเมินจากความสามารถในการรองรับตู้สินค้าและปริมาณตู้สินค้าผ่านท่า อ้างอิงจากข้อมูลตู้สินค้าผ่านท่าและข้อมูลที่เผยแพร่โดยสมาคมท่าเรือพาณิชย์ทางทะเล (Association of Sea Commercial Ports) ในปี 2020

Mr. Alexey Ermolin ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ กลุ่มบริษัท Global Ports กล่าวว่า “ประสบการณ์ในการปรับใช้ระบบบริหารจัดการสินค้าส่งออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ของ FCT ได้พิสูจน์ให้เห็นความสำเร็จของระบบ และเราได้ตัดสินใจขยายบริการนี้ในเครือข่ายท่าเทียบเรือในรัสเซียตะวันตกเฉียงเหนือในกลุ่มบริษัทฯ โดยลูกค้าปัจจุบันของ PLP และ ULCT ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลซ้ำในฐานข้อมูลของศุลกากร Federal Customs Service (FCS) เนื่องจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบัญชีลูกค้าที่อยู่ในฐานข้อมูลของเราจะได้รับการถ่ายโอนไปยังแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรศุลกากรโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ในเดือนกันยายน 2021 เราก็กำลังวางแผนปรับใช้บริการดังกล่าวที่บริษัท Vostochnaya Stevedoring Company ซึ่งตั้งอยู่ในท่าเรือน้ำลึก Vostochny อีกด้วย”

ทั้งนี้ การปรับใช้เทคโนโลยีนี้หมายความว่าขั้นตอนการเตรียมคำสั่งดำเนินการโดยบริษัทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้า และการออกเอกสารที่ได้รับการยืนยันโดยกรมศุลกากร ได้รับการดำเนินการผ่านระบบดิจิทัลทั้งหมด นอกจากนี้ เมื่อมีการดำเนินคำสั่งผ่านระบบดิจิทัลแล้ว ท่าเทียบเรือสามารถเริ่มโหลดตู้สินค้าลงเรือได้ทันที โดยไม่ต้องรอการยืนยันเพิ่มเติม ซึ่งช่วยเพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการทำงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในกระบวนการ ตั้งแต่บริษัทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้า หน่วยงานศุลกากร ท่าเทียบเรือ ไปจนถึงสายการเดินเรือ จะสามารถเข้าถึงข้อมูลในทุกขั้นตอนของกระบวนการผ่านช่องทางออนไลน์ได้

อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้DHL Supply Chain เปิดตัวรถขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ เทคโนโลยี TRAiLAR ในไทย
บทความถัดไปDachser ประเทศไทย เดินหน้าฟื้นฟูซัพพลายเชน ฝ่าวิกฤติ COVID-19 พร้อมรับมือกับความท้าทายในปี 2021 และในอนาคต