TNSC แถลงข่าวสถานการณ์การส่งออกเดือนพฤษภาคม 2023

0
410

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC) นำโดยคุณชัยชาญ เจริญสุข ประธาน TNSC ร่วมกับคุณสุภาพ สุวรรณพิมลกุล รองประธาน และคุณคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร จัดงานแถลงข่าวสถานการณ์การส่งออกของไทยประจำเดือนพฤษภาคม ปี 2023

โดย TNSC ระบุว่า ยอดการส่งออกมีมูลค่า 24,340.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว 4.6 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 830,448 ล้านบาท หดตัว 5.6 เปอร์เซ็นต์ (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมหดตัว 1.4 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 26,190.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว 3.4 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 904,563 ล้านบาท หดตัว 1.7 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม ปี 2023 ขาดดุลเท่ากับ 1,849.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเท่ากับ 74,115 ล้านบาท

สำหรับภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม – พฤษภาคมของปี 2023 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า ไทยมีการส่งออกรวมมูลค่า 116,344.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว 5.1 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 3,941,426 ล้านบาท หดตัว 2.4 เปอร์เซ็นต์ (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนมกราคม – พฤษภาคม หดตัว 2.1 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 122,709.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว 2.5 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 4,210,326 ล้านบาท ขยายตัว 0.2 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม – พฤษภาคม ปี 2023 ขาดดุลเท่ากับ 6,365.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 268,901 ล้านบาท

ทั้งนี้ TNSC คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยรวมทั้งปี 2023 จะอยู่ในระหว่าง -0.5 ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ (ณ เดือนมิถุนายน 2023) โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักยังคงมีความไม่แน่นอนสูง อาทิ จีน ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ สหรัฐฯ ที่ดัชนีภาคการผลิต (PMI) ลดต่ำลงอยู่ที่ 46.3 และยุโรป ณ ระดับ 43.6 2) อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และภาระต้นทุนการกู้เงินของผู้ประกอบการ 3) ต้นทุนการผลิตยังคงสูง อาทิ ค่าไฟฟ้า วัตถุดิบการผลิต ส่งผลต่อความสามารถทางด้านการแข่งขันของไทย 4) ความเสี่ยงจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (El Nino) ต่อภาคการเกษตรในประเทศ

โดย TNSC มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ 1) เร่งกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนแผนการส่งออกอย่างต่อเนื่อง และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 2) ขอให้ภาครัฐเร่งลดต้นทุนภาคการผลิต ที่ปรับสูงขึ้นและอาจเสียเปรียบคู่ค้าคู่แข่งที่สำคัญ อาทิ ค่าไฟฟ้า ค่าแรง และอัตราดอกเบี้ย 3) เร่งเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ผู้ประกอบการในโซ่อุปทาน (Supply Chains Financing) โดยเฉพาะ SMEs 4) เร่งเพิ่มทักษะและสมรรถนะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้DSV เปิดตัวโครงการค่าธรรมเนียมคาร์บอนภายใน ระดมทุนผลักดันแนวคิดริเริ่มด้านความยั่งยืน
บทความถัดไปCOSCO SHIPPING มอบโซลูชันครบวงจรสำหรับโครงการรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ BYD ในออสเตรเลีย