TNSC แถลงข่าวสถานการณ์การส่งออกเดือนมีนาคม 2022

0
1145

คุณชัยชาญ เจริญสุข ประธาน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC) ร่วมกับคุณสุภาพ สุวรรณพิมลกุล รองประธาน และคุณคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร แถลงข่าวการส่งออกประจำเดือนมีนาคม ปี 2022

โดย TNSC ระบุยอดการส่งออกมีมูลค่า 28,859.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 19.5 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 27,400.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 18 เปอร์เซนต์ โดยเมื่อหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกในเดือนมีนาคมขยายตัว 8.9 เปอร์เซ็นต์

ในขณะเดียวกัน การนำเข้ามีมูลค่า 27,400.6 ล้านเหรียญเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 18 เปอร์เซนต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 887,353 ล้านบาท ขยายตัว 26.8 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2565 เกินดุลเท่ากับ 1,459.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 34,960 ล้านบาท

ในด้านภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม – มีนาคมของปี 2022 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ไทยส่งออกรวมมูลค่า 73,601.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 14.9 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 2,401,444 ล้านบาท ขยายตัว 26.1 เปอร์เซ็นต์ โดยเมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วงสามเดือนนี้ขยายตัว 19.8 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ TNSC คาดการณ์การส่งออกไทยในไตรมาสที่สองของปี 2022 จะเติบโต 3.5 – 5 เปอร์เซ็นต์ โดยยังคงคาดการณ์รวมปี 2022 ทั้งปีที่ 5 เปอร์เซ็นต์ โดยมีปัจจัยปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1) สถานการณ์ข้อพิพาทระหว่างยูเครนและรัสเซีย 2) ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง 3) ค่าระวางปรับลงเล็กน้อยแต่ยังทรงตัวในระดับสูง ในเส้นทางยุโรปจากภาพรวมความขัดแย้งของรัสเซีย ยูเครน ส่วนเส้นทางสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออกค่าระวางยังปรับเพิ่มขึ้นจากภาพรวมความต้องการในการขนส่งยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่จีนอยู่ในช่วงประกาศล็อกดาวน์ Shanghai ที่เป็นท่าเรือหลักส่งผลให้ปัญหาเรือล่าช้า รอเทียบท่ามากกว่าหนึ่งสัปดาห์ 4) แรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง 5) ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน และ 6) สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19

โดย TNSC ได้ให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) ขอให้ภาครัฐพิจารณาการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำโดยอ้างอิงจากปัจจัยการปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก และขอให้พิจารณาปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป 2) พิจารณาควบคุมหรือปรับลดค่าใช้จ่ายภาคประชาชนในการดำรงชีวิตและต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน 3) รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันในประเทศให้อยู่ระดับที่เหมาะสม 4) เร่งมองหาช่องทางขยายตลาดเพิ่มเติมทั้งกลุ่มตลาดศักยภาพระดับรองที่อาจเป็นโอกาสของสินค้าไทยที่สามารถทดแทนกลุ่มสินค้าที่เริ่มได้รับผลกระทบจากการชะลอคำสั่งซื้อจากประเทศรัสเซียและยูเครน และ 4) เร่งกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าเพื่อยกระดับ/กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางการค้า ในลักษณะ Exhibition / Business matching ขึ้น รวมถึงเร่งผลักดันการค้าเข้าสู่ตลาด RCEP ให้มากที่สุด


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้ท่าเรือ Felixstowe ก้าวสู่ระบบ 5G และ IoT
บทความถัดไปONE ประสบความสำเร็จในการทดลองใช้เชื้อเพลิงชีวภาพครั้งที่สาม