กทท. พิจารณาโครงการปรับปรุงท่าเรือระนอง ผ่านการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1

0
2157

เมื่อวันที่ 8 และ 9 เมษายนที่ผ่านมา การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ครั้งที่ 1 ต่อโครงการปรับปรุงท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ระนอง และโครงการท่าเทียบเรือแห่งที่ 3 ท่าเรือระนอง ณ ห้องราชาวดี เฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น อ.เมืองระนอง จ.ระนอง โดยมีพลเรือเอก โสภณ วัฒนมงคล ประธานกรรมการการท่าเรือฯ ให้เกียรติเป็นประธานในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ครั้งที่ 1 ร่วมด้วยคุณชนินทร์ แก่นหิรัญ กรรมการการท่าเรือฯเรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ ตลอดจนตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน ผู้แทนภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน

ภายในการจัดประชุมดังกล่าว การท่าเรือฯ ได้ดำเนินการให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา (Consortium) ซึ่งประกอบไปด้วย บริษัท Chotchinda Consultants Co., Ltd. และบริษัท Greener Consultant Co., Ltd. ศึกษาและสำรวจออกแบบ (Detail Design) รวมทั้งศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาศักยภาพท่าเรือระนอง และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม .พร้อมกันนี้ การท่าเรือฯ ได้ดำเนินการพิจารณาข้อเสนอต่างๆ ของภาคประชาชน เพื่อประกอบการดำเนินโครงการปรับปรุงท่าเรือระนองให้มีประสิทธิภาพ ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน และส่งเสริมนโยบายของภาครัฐในโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor: SEC) โดยมีท่าเรือระนองเป็นประตูการค้าฝั่งตะวันตก (Western Gateway)

อนึ่ง การประชุมครั้งนี้นับเป็นการจัดประชุมครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนของการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการศึกษาโครงการฯ พร้อมทั้งข้อเสนอ/ความกังวลในประเด็นด้านต่างๆ โดยการท่าเรือฯ จะพิจารณาข้อเสนอแนะและความคิดเห็น เพื่อกำหนดขอบเขตการศึกษาฯ ให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ และรอบด้านมากที่สุด ซึ่งคาดว่าการเปิดรับข้อเสนอจากประชาชน จะช่วยเสริมสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างการท่าเรือฯ และภาคประชาชนต่อไปในอนาคตอีกด้วย


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้DB Schenker ขยายบริการโลจิสติกส์แบบยั่งยืนในนอร์เวย์ด้วย FUSO eCanter
บทความถัดไปCEVA Logistics เปิดบริการขนส่งต่อเนื่องรถไฟ-เรือขนส่งสินค้าข้ามฟาก เชื่อมจีนสู่ยุโรป