TNSC เผยยอดส่งออก มิ.ย. ขยายตัว คาดส่งออก 2021 โต 10%

0
1428

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมา คุณชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC) ร่วมกับคุณกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ที่ปรึกษา คุณสุภาพ สุวรรณพิมลกุล รองประธาน และคุณคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร แถลงข่าวการส่งออกประจำเดือนมิถุนายน 2021

โดย TNSC ระบุยอดการส่งออกของไทยเดือนมิถุนายน 2021 มีมูลค่า 23,699 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 43.82 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 738,135.34 ล้านบาท ขยายตัว 41.48 เปอร์เซ็นต์ โดยเมื่อหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกเดือนมิถุนายนขยายตัว 41.56 เปอร์เซ็นต์

ในขณะเดียวกัน การนำเข้าในเดือนมิถุนายน 2021 มีมูลค่า 22,754.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 53.75 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 718,651.32 ล้านบาท ขยายตัว 51.33 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้เดือนมิถุนายน 2021 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 945.06 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 19,484.02 ล้านบาท

ภาพรวมการค้าช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน ปี 2021 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 132,334.65 ล้านเหรียญสหรัฐ  ขยายตัว 15.53เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 4,017,545.69 ล้านบาท ขยายตัว 12.59 เปอร์เซ็นต์ โดยเมื่อหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกช่วงครึ่งปีแรกขยายตัว 20.84 เปอร์เซ็นต์

ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 129,895.50 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 26.15 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 3,998,661.75 ล้านบาท ขยายตัว 23.10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2021 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 945.06  ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 18,883.94 ล้านบาท

ทั้งนี้ TNSC คงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2021 เติบโต 10 เปอร์เซ็นต์ (ณ เดือนสิงหาคม 2021) โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ 1) การฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก 2) ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าใกล้เคียง 33 บาทต่อหนึ่งเหรียญสหรัฐ และ 3) ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในปี 2021 ได้แก่ 1) สถานการณ์โรคระบาดในประเทศที่มีความรุนแรง 2) ปริมาณความต้องการตู้สินค้ายังไม่เข้าสู่ภาวะสมดุล 3) แรงงานขาดแคลน และ 4) ปัจจัยการผลิตมีปริมาณไม่เพียงพอ


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้Kerry Logistics Network ปรับใช้หุ่นยนต์ Koolbotic ช่วยทำงานในห้องเย็น
บทความถัดไปONE เปิดตัวแคมเปญตรวจสอบความปลอดภัยและคุณภาพกองเรือประจำปี 2021
Satida Tinarak
Satida Tinarak is a fresh writer who loves to read political novels or even constitutional law. Politics news is a subject that she never gets tired of.