TNSC เผยส่งออก พ.ย. ยังวิกฤติ ส่งออกปีนี้อาจติดลบถึง 5%

0
2283

คุณกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC) แถลงข่าวร่วมกับคุณจินตนา ศิริสันธนะ เลขาธิการ ดร. ชัยชาญ เจริญสุข กรรมการ และคุณคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมา ระบุการส่งออกเดือนพฤศจิกายน 2019 มีมูลค่า 19,657 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 7.4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 589,983 ล้านบาท หดตัว 14.2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY)

ในขณะที่ การนำเข้าในเดือนพฤศจิกายน 2019 มีมูลค่า 19,108 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 13.8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 582,029 ล้านบาท หดตัว 20.0 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ เดือนพฤศจิกายน 2019 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 549 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 7,955 ล้านบาท (การส่งออกเมื่อหักทองคำและน้ำมันเดือน พ.ย. หดตัว 4.6 เปอร์เซ็นต์)

ภาพรวมช่วงเดือน ม.ค.- พ.ย. 2019 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 227,090 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 2.8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 7,054,237 ล้านบาท หดตัว 5.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 218,081 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 5.2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือคิดเป็นมูลค่า 6,873,512  ล้านบาท หดตัว 7.9 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ช่วงเดือน ม.ค. – พ.ย. 2019 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 9,009 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 180,725 ล้านบาท (เมื่อหักทองคำและน้ำมันเดือน ม.ค.- พ.ย. หดตัวถึง 2.6 เปอร์เซ็นต์)

ทั้งนี้ TNSC ยังคงคาดการณ์ว่าการส่งออกไทยในปี 2019 จะหดตัว 2.5 – 3 เปอร์เซ็นต์ บนสมมติฐานค่าเงินบาท ปี 2019 อยู่ที่ 33 (±0.5) บาทต่อหนึ่งเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์การส่งออกปี 2020 เติบโต 0-1 เปอร์เซ็นต์ บนสมมติฐานค่าเงินบาท 30.5 บาทต่อหนึ่งเหรียญสหรัฐ และหากค่าเงินบาทในปี 2020 แข็งค่ากว่าที่ TNSC ตั้งสมมติฐานไว้ การส่งออกอาจเสี่ยงติดลบถึง 5 เปอร์เซ็นต์

โดย TNSC มีข้อเสนอแนะที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า เช่น ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอำนวยความสะดวกการใช้บัญชี FCD สำหรับการชำระค่าสินค้าและบริการภายในประเทศ และตั้งสำนักหักบัญชีในประเทศไทย (Clearing house) เพื่อลดระยะเวลาดำเนินงาน รวมทั้งบริหารจัดการค่าธรรมเนียมทางการเงินให้มีความเหมาะสม

อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้COSCO SHIPPING ซื้อหุ้นลานขนถ่ายตู้สินค้าทางรถไฟในฮังการี
บทความถัดไปFreightplus Thailand รีแบรนด์เป็น FPT Global เพื่อก้าวสู่ทศวรรษใหม่อย่างมั่นคง
Pichanon Paoumnuaywit
tech and history geek, who enjoys hunting and photographing dark skies and milky way