U-Freight เปิดศูนย์บริการ LCL แห่งที่สอง สำหรับสินค้าขนส่งทางรางเส้นทางจีน-ยุโรป

0
1653
???????????????????????

การขนส่งสินค้าแบบไม่เต็มตู้ (LCL) ทางรางกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากผู้ส่งสินค้าเปลี่ยนโหมดการขนส่งจากทางอากาศและทางทะเล สู่การขนส่งสินค้าทางราง ในการนี้ U-Freight Group ตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าชั้นนำจากฮ่องกง จึงตอบสนองต่อความต้องการในบริการด้วยการเปิดตัวศูนย์บริการ LCL แห่งที่สองในนคร Shanghai สาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับบริการขนส่งสินค้าแบบ LCL ทางรถไฟ 

โดย Mr. Simon Wong ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ U-Freight Group กล่าวว่า “ในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกให้บริการส่งสินค้าทางราง เราได้เสริมสร้างที่มั่นที่แข็งแกร่งของเราในตลาดการค้า ปัจจุบันเราให้บริการขนส่งสินค้าแบบรวมตู้ (Consolidated Shipment) จากจีนไปยังเยอรมนี อิตาลี สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับให้บริการส่งต่อสินค้าปริมาณย่อยๆ ไปยังปลายทางประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคยุโรป โดยเมื่อสินค้าเดินทางถึงศูนย์บริการ LCL ทางรางทั้งสามแห่งของเราในยุโรปภาคพื้นทวีป เครือข่ายตัวแทนที่มีสายสัมพันธ์อันยาวนานกับเรา ก็จะรับช่วงจัดการสินค้าต่อไป”

“สาเหตุที่เราเลือกเปิดศูนย์บริการ LCL ใน Zhengzhou เนื่องจากเมืองแห่งนี้เป็นที่เดียวที่มีบริการรถไฟแบบรายวันไปยังยุโรป กระนั้นแล้ว ด้วยเครือข่ายการบริการที่กว้างขวางครอบคลุมในประเทศจีนของเรา ก็ยังอำนวยให้เราสามารถมอบบริการขนส่งสินค้าแบบเต็มตู้ (FCL) ได้จากทั่วประเทศ โดยจะให้บริการจากเกทเวย์ต้นทางรถไฟที่อยู่ใกล้กับลูกค้ามากที่สุด” Mr. Wong กล่าวเสริม

“ขณะที่การขนส่งสินค้ารูปแบบอื่นกำลังเผชิญกับปัญหาพื้นที่ระวางการบริการและปัญหาด้านตารางการเดินทาง บริการขนส่งทางรถไฟของเราได้แสดงให้เห็นถึงการเป็นบริการทางเลือกที่แข่งขันกับการขนส่งสินค้าทางอากาศได้ ในแง่ของราคา อีกทั้งยังใช้เวลาเดินทางที่รวดเร็วกว่าการขนส่งสินค้าทางเรือ” Mr. Wong กล่าว

อนึ่ง U-Freight เริ่มต้นให้บริการขนส่งสินค้าแบบ LCL ทางรถไฟตั้งแต่ปี 2014 โดยปฏิบัติการจากเมือง Zhengzhou ผ่านบริการรายวันซึ่งเดินทางในเส้นทางรถไฟไป-กลับจากเมือง Malaszewicze ประเทศโปแลนด์ เมือง Hamburg ในเยอรมนี และเมือง Liege ในเบลเยียม

อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้Drewry เผยแนวโน้มอัตราค่าระวางเส้นทาง Trans Pacific
บทความถัดไปCNC เปิดตัวบริการ Taiwan Hong Kong Indonesia (THI)