TNSC แถลงข่าวสถานการณ์การส่งออกประจำเดือนตุลาคม 2023

0
291

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC) นำโดยคุณชัยชาญ เจริญสุข ประธาน TNSC จัดงานแถลงข่าวสถานการณ์การส่งออกเดือนตุลาคม ปี 2023

โดย TNSC ระบุว่า สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนตุลาคม ปี 2023 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 23,578.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.0 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 841,366 ล้านบาท ขยายตัว 4.7 เปอร์เซ็นต์ (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนตุลาคมขยายตัว 5.4 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 24,411.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 10.2 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 881,124 ล้านบาท ขยายตัว 6.9 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนตุลาคม ปี 2023 ขาดดุลเท่ากับ 832.3 ล้านเหรียญสหรัฐ  หรือเท่ากับ 39,758 ล้านบาท

สำหรับภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม – ตุลาคมของปี 2023 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 236,648.2 ล้านเหรียญสหรัฐ  หดตัว 2.7 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 8,109,766 ล้านบาท หดตัว 2.6 เปอร์เซ็นต์ (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วงมกราคม – ตุลาคม หดตัว 0.6 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 243,313.2 ล้านเหรียญสหรัฐ  หดตัว 4.6 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 8,439,268 ล้านบาท หดตัว 4.7 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม – ตุลาคม ปี 2023 ขาดดุลเท่ากับ 6,665.0 ล้านเหรียญสหรัฐ  หรือคิดเป็น 329,502 ล้านบาท

ทั้งนี้ TNSC คาดการณ์การส่งออกของประเทศไทยรวมทั้งปี 2023 ว่าจะมีการหดตัวที่ -1.5 ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ปี 2024 TNSC คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยเติบโตที่ 1-2 เปอร์เซ็นต์ (ณ เดือนธันวาคม ปี 2023) โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2023 ได้แก่ 1) เศรษฐกิจทั่วโลกปี 2023 ในภาพรวมเติบโตได้น้อยกว่าที่คาดไว้ 2) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ จากภาวะสงครามที่ยืดเยื้อส่งผลกระทบต่อการค้าและเศรษฐกิจโดยรวม 3) อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกยังคงทรงตัวระดับสูง ส่งผลให้ชะลอตัวทางเศรษฐกิจ 4) ดัชนีภาคการผลิต (PMI) ยังคงทรงตัวและมีแนวโน้มหดตัวในบางตลาดสำคัญ ส่งผลให้ภาคการผลิตตึงตัว จากดัชนีภาคการผลิตเคลื่อนไหวใกล้เส้น base line 5) ความกังวลเรื่องต้นทุนภาคการผลิตที่ยังมีความไม่แน่นอน อาทิ ค่าไฟฟ้าและค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้Bolloré Logistics ปฏิบัติการรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า ขนส่งสินค้าระยะ last-mile ใน New York
บทความถัดไปOOCL เปิดตัวบริการใหม่ CIP1 และ CIP2 เชื่อมจีน อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์