TNSC แถลงข่าวสถานการณ์การส่งออกเดือนพฤศจิกายน 2023

0
372

เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC) นำโดยคุณชัยชาญ เจริญสุข ประธาน TNSC ร่วมกับคุณคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร TNSC จัดงานแถลงข่าวสถานการณ์การส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายน ปี 2023

โดย TNSC ระบุว่า สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนพฤศจิกายน ปี 2023 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 23,479.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4.9 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 847,486 ล้านบาท หดตัว 0.2 เปอร์เซ็นต์ (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนพฤศจิกายนขยายตัว 4.0 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 25,879.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 10.1 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 944,873 ล้านบาท ขยายตัว 4.8 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน ปี 2023 ขาดดุลเท่ากับ 2,399.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 97,387 ล้านบาท

สำหรับภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม – พฤศจิกายนของปี 2023 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 261,770.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 1.5 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 9,013,148 ล้านบาท หดตัว 1.8 เปอร์เซ็นต์ (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วงมกราคม – พฤศจิกายน หดตัว 0.5 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 267,935.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 3.8 เปอร์เซ็นต์ และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 9,341,112 ล้านบาท หดตัว 4.3 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม – พฤศจิกายน ปี 2023 ขาดดุลเท่ากับ 6,165.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 327,928 ล้านบาท

ทั้งนี้ TNSC คาดการณ์การส่งออกของประเทศไทยรวมทั้งปี 2023 ว่าจะมีการหดตัวที่ -1 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ปี 2024 TNSC คาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยเติบโตที่ 1-2 เปอร์เซ็นต์ (ณ เดือนมกราคม ปี 2024) โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1) การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ที่มีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยค่าเงินบาทเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบ 34-35 บาท 2) อัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายประเทศยังคงทรงตัวระดับสูง 3) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อส่งผลกระทบต่อการค้าและเศรษฐกิจโดยรวม 4) ดัชนีภาคการผลิต (PMI) ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ 5) ความกังวลเรื่องต้นทุนภาคการผลิตที่ยังมีความไม่แน่นอน อาทิ ค่าไฟฟ้าและค่าแรงขั้นต่ำ ค่าระวางเรือขนส่งสินค้าในเส้นทางยุโรปที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้ZIM เพิ่มท่าเรือ Cai Mep ในเวียดนาม เข้าสู่บริการ ZMP
บทความถัดไปท่าเทียบเรือ DaChan Bay Terminals ต้อนรับบริการใหม่จาก Gold Star Line