TNSC เผยยอดส่งออกเมษายนขยายตัว คาดส่งออกปี 2021 เติบโต 7 เปอร์เซ็นต์

0
918

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา คุณชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC) ร่วมกับคุณกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ที่ปรึกษา คุณสุภาพ สุวรรณพิมลกุล รองประธาน และคุณคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร แถลงข่าวการส่งออกเดือนเมษายน 2021

โดย TNSC ระบุว่า การส่งออกเดือนเมษายน 2021 มีมูลค่า 21,429 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 13.09 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 656,592 ล้านบาท ขยายตัว 6.93 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

ในขณะที่การนำเข้าในเดือนเมษายน 2021 มีมูลค่า 21,246 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 29.79 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 660,063 ล้านบาท ขยายตัว 22.87 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้เดือนเมษายน 2021 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 182  ล้านเหรียญสหรัฐ และขาดดุล 3,470 ล้านบาท เมื่อคิดเป็นยอดการส่งออกโดยหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย ส่งผลให้การส่งออกเดือนเมษายนมีการขยายตัว 25.7 เปอร์เซ็นต์

ภาพรวมช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน ปี 2021 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 85,577 ล้านเหรียญสหรัฐ  ขยายตัว 4.78 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 2,564,525 ล้านบาท ขยายตัว 1.82 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 84,879 ล้านเหรียญสหรัฐ  หดตัว 13.85 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 2,580,092 ล้านบาท ขยายตัว 10.80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2021 ประเทศไทยเกินดุลการค้า 698ล้านเหรียญสหรัฐ และ ขาดดุล 15,567ล้านบาท เมื่อคิดเป็นยอดการส่งออกโดยหักทองคำ น้ำมันและอาวุธยุทธปัจจัย ส่งผลให้การส่งออกเดือนมกราคมถึงเมษายนมีการขยายตัว 11.58 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ TNSC ยังคงคาดการณ์ว่าการส่งออกไทยในปี 2021 จะเติบโต 6-7 เปอร์เซ็นต์ (ณ เดือนมิถุนายน 2021) โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญได้แก่ 1) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกา ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน COVID-19 ทั่วโลก และประเมินจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายการผลิตโลก (world PMI index) ที่เพิ่มขึ้นในระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี สะท้อนถึงการฟื้นตัวของกิจกรรมการผลิตสอดคล้องกับทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก และ 2) ราคาสินค้าในตลาดโลกมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น

ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ 1) สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่มีความรุนแรงทั้งในประเทศและกลุ่มประเทศอาเซียน 2) ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน และอัตราค่าระวางที่ทรงตัวในระดับสูง โดยเฉพาะการขาดแคลนตู้และระวางสินค้า ประกอบกับสายเรือยังคงมีการจัดสรรระวางสินค้าส่วนใหญ่ให้กับจีนและเวียดนาม รวมไปถึงอัตราค่าระวางที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น 3) สถานการณ์ความผันผวนของวัตถุดิบที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ และสถานการณ์ราคาเหล็กในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น และ 4) สถานการณ์ขาดแคลนแรงงาน


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้Hapag-Lloyd สั่งซื้อตู้สินค้าเพิ่ม 60,000 ทีอียู รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
บทความถัดไปMOL เปิดตัว KiliMOL หนุนอีคอมเมิร์ซข้ามแดน ชูบริการจัดส่งเครื่องจักรการเกษตรมือสอง
Satida Tinarak
Satida Tinarak is a fresh writer who loves to read political novels or even constitutional law. Politics news is a subject that she never gets tired of.