ท่าเรือประจวบ จัดทัพรับกลยุทธ์บลูพอร์ต (Blue Port) ขนถ่ายสินค้า-บริการนอกชายฝั่ง-สิ่งแวดล้อม

0
49

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ท่าเรือประจวบ จำกัด (PPC) ท่าเทียบเรือพาณิชย์สากล บริษัทในกลุ่มเหล็กสหวิริยา นำโดยคุณจิร  โชตินุชิต กรรมการผู้จัดการ ได้ประกาศวิสัยทัศน์ ‘ประตูสู่เศรษฐกิจสีน้ำเงิน’ หรือ Blue Economy พร้อมกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายในการขยายฐานธุรกิจให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการรองรับกลุ่มธุรกิจเหล็กสหวิริยาซึ่งเป็นลูกค้าหลักและลูกค้ารายใหญ่ของท่าเรือฯ รวมถึงการลงทุนในธุรกิจอื่นๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลกำไรและความมั่นคงในระยะยาว

โดยท่าเรือประจวบได้ประกาศวิสัยทัศน์ ‘Blue Economy’ ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรทางทะเลและมหาสมุทรอย่างยั่งยืน โดยไม่ทำให้ทรัพยากรเหล่านั้นเสื่อมสภาพหรือลดลง เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้จุดมุ่งหมายหลักในการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ที่ยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว นอกจากนี้ ท่าเรือฯ ยังได้นำเสนอกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจประจำปี 2025 ซึ่งประกอบด้วยแผนการสี่ด้านสำคัญ ได้แก่ การขนส่งสินค้า กิจกรรมนอกชายฝั่ง การจัดการบริหารของเสีย และการรักษาระบบนิเวศน์ทางทะเลเพื่อการเติบโตและความยั่งยืนที่สมดุลทางธุรกิจและทางทะเล

เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ดังกล่าว บริษัทฯ ได้จัดโครงสร้างและขยายธุรกิจเป็นสามหน่วยธุรกิจ ประกอบด้วย หน่วยธุรกิจด้านการขนถ่ายสีน้ำเงิน (Blue Transport) หน่วยธุรกิจด้านการบริการนอกชายฝั่งทะเล (Blue Offshore) และหน่วยธุรกิจด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลสีน้ำเงิน (Blue Conservation) เพื่อรองรับกิจกรรมการขนส่งและธุรกิจที่จะเกิดขึ้นบนชายฝั่งและนอกชายฝั่งทะเล ซึ่งตอกย้ำถึงจุดยืนของท่าเรือในการให้บริการที่เป็นสีน้ำเงิน (Blue Port)

คุณจิร กล่าวว่า “ท่าเรือประจวบจะเดินหน้าใช้ศักยภาพและความพร้อมของท่าเรือมุ่งเน้นที่ธุรกิจบนชายฝั่งและนอกชายฝั่งที่สามารถใช้ท่าเรือฯ และพื้นที่หลังท่าเรือฯ เป็นพื้นฐานหลัก ทั้งการบริการขนถ่าย ฝากเก็บ และการให้บริการขนส่งทางทะเลด้านอื่นๆ ที่รวดเร็วและมีคุณภาพ เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า ทั้งนี้ บริษัทฯ มุ่งมั่นเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ ทั้งธุรกิจขนถ่ายสินค้าปกติและธุรกิจใหม่ๆ ในด้านการขนส่งสินค้า ด้านกิจกรรมนอกชายฝั่ง ด้านการจัดการบริหารของเสีย และด้านการรักษาระบบนิเวศน์ทางทะเล เพื่อการเติบโตและความยั่งยืนที่สมดุลทางธุรกิจและทางทะเล โดยไม่ละทิ้งความใส่ใจด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของท่าเรือ อันเป็นหัวใจของยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)”


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้Cainiao คว้ารางวัลชนะเลิศด้านวิทยาการและเทคโนโลยี AI ขึ้นแท่นผู้ชนะหนึ่งเดียวในสายโลจิสติกส์
บทความถัดไปNX Vietnam เปิดบริการขนส่งสินค้าแบบ LCL ผ่านเส้นทางรถไฟสายเหนือ-ใต้ในเวียดนาม