ท่าเทียบเรือ LCB1 ปรับใช้เครนไฮบริด เดินหน้าสร้างซัพพลายเชนที่ยั่งยืนในไทย

0
483

ท่าเทียบเรือ LCB Container Terminal 1 (LCB1) บริษัทร่วมทุนระหว่าง Eastern Sea Leam Chabang Terminal (ESCO), APM Terminals และ Bangkok Modern Terminals Ltd มุ่งมั่นสร้างซัพพลายเชนที่ยั่งยืนในประเทศไทยด้วยโครงการสีเขียว ด้วยความร่วมมือกับบริษัท ZPMC ผู้ผลิตอุปกรณ์ยกขนตู้สินค้าชั้นนำ ทาง LCB1 ได้ดำเนินการดัดแปลงอุปกรณ์ยกขนตู้สินค้าจากรถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้าชนิดล้อยาง (เครน RTG) ระบบเชื้อเพลิงดีเซล ให้เป็นเครน RTG แบบไฮบริด ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าผ่านแบตเตอรี

โดยการลงทุนในครั้งนี้ครอบคลุมการดัดแปลงเครน RTG เชื้อเพลิงดีเซล จำนวน 12 ตัว ให้เป็นเครน RTG แบบไฮบริด ซึ่งภายหลังการดัดแปลงแล้วเสร็จจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 1.5 ล้านกิโลกรัมต่อปี

Mr. Lee Siak Quee ประธาน บริษัท ESCO กล่าวว่า “การเปลี่ยนจากเครนเชื้อเพลิงดีเซลเป็นระบบไฮบริด ถือเป็นข้อพิสูจน์ความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของ ESCO ในการลดการปล่อยคาร์บอนผ่านการใช้พลังงานไฟฟ้า เรามุ่งมั่นสร้างโลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ควบคู่กับการขับเคลื่อนซัพพลายเชนที่ยั่งยืน”

ทั้งนี้ ESCO เป็นสมาชิกของกลุ่มบริษัท PSA ซึ่งได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวและซัพพลายเชนที่ยั่งยืน โดยได้เพิ่มกองรถยกตู้คอนเทนเนอร์พลังงานไฟฟ้าไฮบริดแบบปลั๊กอินเข้าในกองรถ และจัดตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้ากำลังไฟ 300 กิโลวัตต์ ที่สถานีบรรจุสินค้ากล่องลาดกระบัง (ICD) ที่ซึ่งมีอุปกรณ์พลังงานไฟฟ้าราว 25 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ESCO ยังได้เปิดตัวบริการ ‘Green Transport Lane’ ซึ่งเป็นเส้นทางสำหรับรถบรรทุกไฟฟ้าที่ครอบคลุมระยะทาง 120 กิโลเมตรระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและสถานี ICD อีกด้วย


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้MSC จัดเวิร์กช็อปปกป้องวาฬระดับนานาชาติที่สำนักงานใหญ่ ใน Geneva
บทความถัดไปSJWD รับมอบรางวัล Thailand Corporate Excellence Awards 2023