ท่าเรือแหลมฉบังมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ โดยอยู่ใกล้บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย หรือที่รู้จักในชื่อ โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor หรือ EEC) ซึ่งมีความสำคัญทางธุรกิจอย่างมาก เนื่องจากเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มุ่งเน้นด้านการส่งออกของไทย อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกสินค้ามูลค่าสูง อย่างยานยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ขณะเดียวกันท่าเรือแหลมฉบังก็ถือเป็นท่าเรือที่มีบทบาทสำคัญในเส้นทางการค้าและการพาณิชย์ระดับโลก ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและตอบสนองความต้องการด้านสินค้านำเข้าและส่งออกได้อย่างไร้รอยต่อ
ทั้งนี้ ECU Worldwide Thailand (ECU) ได้สร้างโอกาสทางธุรกิจจากข้อได้เปรียบทางที่ตั้งเชิงกลยุทธ์แห่งนี้ด้วยการเปิดให้บริการรวบรวมสินค้าในท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพฯ และสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง (ICD ลาดกระบัง) ด้วยการพัฒนาบริการใหม่ โดย ECU ได้เป็นผู้นำในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการเปิดให้บริการขนส่งสินค้าเส้นทางตรงจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังท่าเรือแห่งต่างๆ ในญี่ปุ่น ทั้งยังวางแผนเปิดให้บริการการค้าเส้นทางตรงเพื่อไปยังที่หมายอื่นๆ ให้ครอบคลุมมากขึ้นในอนาคตอันใกล้
บริการรวบรวมสินค้าใหม่ล่าสุดของ ECU เป็นบริการขนส่งสินค้าที่จะช่วยสร้างโอกาสให้แก่ธุรกิจใน EEC โดยมีความคุ้มค่าคุ้มราคาและมีประสิทธิภาพด้านเวลาอย่างมาก ในอดีต บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือกรุงเทพฯ หรือ ICD ลาดกระบัง เพื่อทำการรวบรวมสินค้าก่อน ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งและเวลาขนถ่ายสินค้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากท่าเรือกรุงเทพฯ เป็นท่าเรือแม่น้ำ ตู้สินค้าจะได้รับการขนส่งผ่านเรือฟีดเดอร์ไปยังสิงคโปร์เพื่อขนถ่ายขึ้นเรือแม่ หรือได้รับการขนส่งผ่านเรือบาร์จเพื่อขนถ่ายขึ้นเรือแม่ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ในทำนองเดียวกัน ตู้สินค้าจาก ICD ลาดกระบังจะได้รับการขนส่งไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ก่อนจะขนย้ายไปยังที่หมายสุดท้าย ซึ่งทำให้มีระยะทางในการขนส่งมากขึ้นถึง 100 กิโลเมตร
ด้วยการเปิดให้บริการรวบรวมสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง ทำให้ ECU สามารถลดความไร้ประสิทธิภาพและความซับซ้อนจากการขนส่งและโลจิสติกส์หลายขั้นตอนได้ ธุรกิจต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากการจัดการสินค้าที่ราบรื่น ค่าใช้จ่ายที่ลดลง และสามารถขนย้ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวแทนผู้รับจัดการสินค้าสามารถเข้ารับสินค้าจากผู้ส่งและขนส่งไปยังท่าเรือแหลมฉบังได้โดยตรง นอกจากนี้ยังมีบริการเพิ่มมูลค่าต่างๆ เช่น การขนส่งสินค้าถึงหน้าประตูและบริการดำเนินพิธีการศุลกากร ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความท้าทายต่างๆ ลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่ต้องขนย้ายสินค้าคุณภาพสูง (high-end) ซึ่งมีตารางผลิตสินค้าแบบทันเวลาพอดี (just-in-time)
ทั้งนี้ ECU ได้สร้างความแตกต่างทางธุรกิจด้วยการเป็นผู้ให้บริการรวบรวมสินค้าเพียงรายเดียวในประเทศไทยที่ให้บริการขนส่งสินค้าในท่าเรือกรุงเทพฯ ICD ลาดกระบัง และท่าเรือแหลมฉบัง โดย ECU ให้บริการครอบคลุมที่หมายต่างๆ มากกว่า 180 ประเทศทั่วโลก ด้วยบริการเส้นทางตรงมากกว่า 2,400 บริการ ทั้งยังให้บริการขนส่งสินค้าแบบ door-to-door ไปยังตลาดมากกว่า 50 แห่ง และช่วยยกระดับประสบการณ์ให้ลูกค้าสามารถรับบริการที่สะดวกขึ้นได้ด้วย ECU360 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโลจิสติกส์ดิจิทัลที่ทันสมัยของบริษัทฯ
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าการขยายบริการของ ECU ในท่าเรือแหลมฉบังมีความสอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาใน EEC นอกจากนี้ บริการใหม่ดังกล่าวยังช่วยเสริมสร้างเป้าหมายของ EEC ในการยกระดับพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคด้วยการปรับกระบวนการโลจิสติกส์และการค้าให้สะดวกมากขึ้น ด้วยการให้บริการโซลูชันครบวงจร ECU ได้ส่งเสริมธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เติบโตมากขึ้น โดยสร้างประโยชน์จากโอกาสมากมายในภูมิภาค EEC ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โครงการนำร่องนี้จึงไม่ใช่เพียงก้าวสำคัญของ ECU หากแต่เป็นหลักชัยสำคัญของธุรกิจทั่วทั้ง EEC ด้วย
อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่