APM Terminals ลงทุนสั่งซื้ออุปกรณ์ยกขนตู้สินค้า 240 ตัว มุ่งยกระดับการปฏิบัติการ

0
238
APM Terminals Maasvlakte II Gantry Cranes

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท APM Terminals ได้ประกาศการลงทุนครั้งใหญ่สำหรับการปฏิบัติการท่าเทียบเรือห้าแห่งในละตินอเมริกา แอฟริกา และยุโรป ขยายความสามารถในการรองรับลูกค้าในอนาคต โดยบริษัทฯ ได้ลงทุนสั่งซื้ออุปกรณ์ปฏิบัติการในท่าเรือชุดใหม่จำนวน 240 ตัว โดยครอบคลุมถึงเครนยกขนตู้สินค้าหน้าท่า (ship-to-shore crane) เครนยกตู้สินค้าแบบล้อยาง (rubber-tired gantry crane) และรถหัวลากระบบไฟฟ้า ภายใต้เป้าหมายในการยกระดับมาตรฐานความเป็นเลิศในการปฏิบัติการ

Mr. Olaf Gelhausen ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ท่าเทียบเรือ APM Terminals กล่าวว่า “ด้วยการตระหนักถึงกลยุทธ์การเติบโตของบริษัทฯ และมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า APM Terminals ได้ยกระดับขีดความสามารถการปฏิบัติการด้วยผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผ่านข้อตกลงที่เราทำร่วมกับ ZPMC, SANY, Kuenz, Shacman และ ABB ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพและความยั่งยืนในการปฏิบัติการของเรา”

โดยส่วนหนึ่งของการส่งมอบอุปกรณ์ปฏิบัติการเหล่านี้ บริษัท ZPMC จะทำการส่งมอบเครนหน้าท่าจำนวน 12 ตัว ไปยัง APM Terminals Maasvlakte II ในเนเธอร์แลนด์ เครนหน้าท่าจำนวนสี่ตัว ไปยัง APM Terminals MedPort Tangier ในโมร็อกโก เครนหน้าท่าสองตัวและเครนยกตู้สินค้าแบบล้อยางเก้าตัว ไปยังท่าเทียบเรือ Côte d’Ivoire Terminal (CIT) เครนขาสูงแบบติดตั้งบนรางระบบอัตโนมัติจำนวนหกตัว และรถคานขนถ่ายสินค้าแบบไฮบริดจำนวน 14 ตัว ไปยัง APM Terminals Lazaro ในเม็กซิโก

นอกจากนี้ยังมีการสั่งซื้ออุปกรณ์สำหรับท่าเทียบเรือใน Suape บราซิลในอนาคต โดย SANY จะส่งมอบเครนหน้าท่าควบคุมระยะไกลจำนวนสองตัว เครนยกตู้สินค้าแบบล้อยางควบคุมระยะไกลจำนวนเจ็ดตัว รถยกตู้สินค้าระบบไฟฟ้าสองตัว รถยกตู้สินค้าเปล่าระบบไฟฟ้าสองตัว รถฟอร์คลิฟท์ระบบไฟฟ้าหนึ่งตัว และรถหัวลากพลังงานไฟฟ้าจำนวน 14 ตัว สำหรับท่าเทียบเรือ APM Terminals Suape


อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่

บทความก่อนหน้านี้Sahathai Terminal ต้อนรับเรือขนส่งสินค้าเที่ยวแรกในบริการ YCX ใหม่ของ CMA CGM
บทความถัดไปLEO จับมือ FPI จัดอบรม ‘การพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน’ มุ่งสร้างคุณค่าระยะยาวให้กับธุรกิจในอนาคตด้วยแนวคิด ESG